ประวัติศาสตร์กองบิน ๔
พันเอก พระยาเฉลิมอากาศ
โรงงานกรมอากาศยานทหารบก
วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๒ เมื่อกองบินทหารบกเจริญขึ้น จึงได้ขยายกิจการออกเป็น
๑. กองบินใหญ่ทหารบกที่ ๑ (ขับไล่) มีร้อยโท ชิต รวดเร็ว เป็นผู้บังคับบัญชา
๒. กองบินใหญ่ทหารบกที่ ๒ (ตรวจการณ์) มี ร้อยเอก เหม ยศธร เป็นผู้บังคับบัญชา
๓. กองบินใหญ่ทหารบกที่ ๓ (ทิ้งระเบิด) มี พันตรี หลวงทะยานพิฆาต ผู้บังคับการกองบินทหารบก เป็นผู้บังคับบัญชา
ร้อยโท ชิต รวดเร็ว
พันตรี หลวงทะยานพิฆาต
ร้อยเอก เหม ยศธร
เจ้ากรมอากาศยานจึงให้ ร้อยเอก ชิต รวดเร็ว ผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับการกองบินใหญ่ที่ ๑ กับ ร้อยโท กาพย์ ทัตตานนท์ มาสำรวจ และทำแผนผังเพื่อจะก่อตั้ง กองโรงเรียนการบินยิงปืน เมื่อทำแผนที่เสร็จแล้ว ได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึงได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วจึงส่งเรื่องให้ กรมเกียกกายทหารบกจัดการประมูล จ้างช่างก่อสร้าง โดย นายเหยี่ยว ยี่ห้อฟุกกี่ เป็นผู้ประมูลได้ ได้เริ่มลงมือก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๔๖๔ และแล้วเสร็จเมื่อ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕
ร้อยเอกหลวงอมรศักดาวาวุธ
(ชิต รวดเร็ว)
พลอากาศโทหลวงเทวฤทธิ์พันลึก
(กาพย์ ทัตตานนท์)
วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ เคลื่อนย้ายกองบินใหญ่ที่ ๑ (กองบิน ๔) จากดอนเมืองไปสนามบินประจวบคีรีขันธ์
ในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ นี้ ถึงกำหนดที่ กองบินใหญ่ที่ ๑ (กองบิน ๔) จะต้องย้ายจากดอนเมืองไปสนามบิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ ร้อยเอกหลวงอมรศักดาวุธ (ชิต รวดเร็ว) ผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับการกองบินใหญ่ที่ ๑ ได้ประชุม นายทหาร, นายสิบ, และพลทหาร ในกองบินใหญ่ที่ ๑ จะย้ายไปอยู่ ตำบลอ่าวมะนาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสร็จแล้วได้ควบคุมข้าราชการไปลา เจ้ากรมอากาศยาน พันเอก พระยาเฉลิมอากาศ
วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ ข้าราชการในกองบินใหญ่ที่ ๑ และครอบครัว ได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้ง ตำบลดอนเมืองโดยสารรถไปไปพักที่ กรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ ท่าพระจันทร์
วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ โดยสารรถไฟจากสายใต้ ถึงที่ตั้งกองบินใหญ่ที่ ๑ ต.อ่าวมะนาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยความเรียบร้อย ข้าราชการปกครองฝ่ายท้องถิ่นมี มหาอำมาตย์ตรี พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราช นายก ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เลี้ยงต้อนรับข้าราชการ และครอบครัวเป็นอย่างดี
วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕ เป็นวันแรกที่กองบินใหญ่ที่ ๑ (กองบิน ๔) ได้เริ่มต้นทำงานที่ว่าการกองบิน
พ.ศ.๒๔๗๖ เปลี่ยนชื่อกองบินใหญ่ที่ ๑ เป็นกองบินน้อยที่ ๑
กองบินน้อยที่ ๔ สัญลักษณ์ รูปหนุมาน
HAWK-2 (บ.ข.๙)
HAWK-3 (บ.ข.๑๐)
ญี่ปุ่นบุกไทย - กำเนิดสนามบินตาคลี
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ เริ่มเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ประเทศญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อทำการบุกรุกเข้าต่อไปยังประเทศพม่าและมลายู โดยมีกองกำลังทหารญี่ปุ่นบางส่วนตั้งฐานทัพอยู่บริเวณใกล้หมู่บ้านหนองสีนวล ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
นักบินประจำกองบินน้อยที่ ๔ ฝูงบินที่ ๓ ได้แก่ ร.อ.ไชย สุนทรสิงห์, ร.อ.ชิน จิระมณีมัย และ ร.ต.สนิท โพธิเวชกุล ได้นำเครื่องบินขึ้นต่อสู้กับเครื่องบินญี่ปุ่นที่บุกเข้ามา นักบินทั้งหมดเสียชีวิตในการรบ
ร.อ.ไชย สุนทรสิงห์
ร.อ.ชิน จิระมณีมัย
ร.ต.สนิท โพธิเวชกุล
พ.ศ.๒๔๘๖ กองบินน้อยที่ ๔ บรรจุเครื่องบิน CURTISS HAWK 75N (บ.ข.๑๑) เข้าประจำการ ๑ ฝูงบิน
พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
เรืออากาศโท จรรย์ จุลชาต
พ.ศ.๒๔๘๖ คณะทีมสำรวจของไทยได้ทำการสำรวจพื้นที่ทั้ง ๒ แห่ง อย่างละเอียด จึงเห็นควรเลือกใช้พื้นที่สนามบินตาคลี ซึ่งเดิมปล่อยทิ้งร้างไว้เต็มไปด้วยพืชพรรณไม้ป่านานาชนิดบางแห่งทางราชการได้ใช้เป็นเรือนจำนักโทษ มีหมู่บ้านของประชาชนอยู่ในพื้นที่ไม่มากนักจึงได้รายงาน พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เสนาธิการทหารอากาศในขณะนั้น เพื่อขอใช้พื้นที่สนามบินตาคลีที่มีภูมิประเทศเกื้อกูลทางยุทธศาสตร์การทหาร มีแนวภูเขาขนานตามพื้นที่สนามบิน พร้อมที่จะจัดวางกำลังป้องกันการโจมตีทางอากาศและทางภาคพื้นได้อย่างดี นอกจากนั้นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่ตั้งสนามบินตาคลีมีเส้นทางคมนาคมไม่ห่างไกลจากดอนเมือง สามารถทำการขนส่งลำเลียงทางอากาศเชื่อมโยงทุกสนามบินได้อย่างรวดเร็ว การลำเลียงขนส่งตามเส้นทางคมนาคมภาคพื้นระหว่างชัยนาท - ตาคลี และตาคลี - กรุงเทพฯ การเดินทางตามเส้นทางถนนสะดวกใช้เวลาไม่มากนัก พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เสนาธิการทหารอากาศในขณะนั้นเห็นชอบด้วย ดังนั้น กองทัพอากาศจึงได้ จัดตั้งงบประมาณ และดำเนินการใช้กฎหมายเวนคืนที่ดิน เพื่อเตรียมการสร้างสนามบิน ซึ่งในครั้งนั้นญี่ปุ่นได้สนับสนุนงบประมาณในเรื่องนี้ด้วย
T-6 TEXAN (บ.ฝ.๘)
กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๒ กองทัพอากาศมีความประสงค์จะย้ายกองบินน้อยที่ ๔ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ไปตั้งที่สนามบินตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการพิจารณาเห็นว่าสนามบินที่ตาคลีแห่งนี้มีความเหมาะสมในทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง คือ ตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศ เหมาะแก่การใช้กำลังทางอากาศ มีการป้องกันทางลึกได้ดี ประกอบกับการคมนาคมสะดวกทั้งทางบกและทางอากาศ ง่ายต่อการส่งกำลังบำรุงจากส่วนกลาง กองทัพอากาศจึงได้สั่งการให้ ร.ท.ประวงค์ เป้าทอง และ ร.ท.ชื้น ทวีแสง มาทำการสำรวจตรวจสอบสถานที่ที่จะตั้งเป็นสถานที่ราชการ และทำการตรวจซ่อมสนามบินที่ตาคลีให้เรียบร้อยใช้ราชการได้ต่อไป พร้อมกับดำเนินการสร้างอาคารสถานที่ ที่พักอาศัย ฯลฯ เพิ่มเติม
Spitfire (บ.ข.๑๔)
พ.ศ.๒๔๙๖ กองบินน้อยที่ ๔ เริ่มขนย้ายหน่วยราชการจากที่ตั้ง ณ ตำบลโคกกระเทียม จังหวัดลพบุรีมาประจำการที่ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการย้ายเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ .๒๔๙๖
กองบินน้อยที่ ๔ ย้ายมาประจำการ ณ สนามบินตาคลีในครั้งนั้น มีฝูงบินขับไล่ที่ ๔๓ จำนวน ๑ ฝูง ซึ่งในวันดังกล่าวถือว่าเป็นวันสถาปนาฝูงบิน ๔๐๓ ในปัจจุบัน
พ.ศ.๒๔๙๗ กองบินน้อยที่ ๔ บรรจุเครื่องบิน F-8F BEARCAT (บ.ข.๑๕) เข้าประจำการฝูงบิน ๔๓
F-8F BEARCAT (บ.ข.๑๕)
วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯโดย บ.พระที่นั่ง ทอดพระเนตรกิจการ กองบินน้อยที่ ๔
F-84 G THUNDER JET (บ.ข.๑๖)
วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ กองบินน้อยที่ ๔ บรรจุเครื่องบิน F-86 SABRE (บ.ข.๑๗) จำนวน ๘ เครื่อง เข้าประจำการ ฝูงบิน ๔๓
F-86 SABRE (บ.ข.๑๗)
วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับคำสั่งกองทัพอากาศโดยประกาศให้ “กองบินน้อยที่ ๔” เป็น “กองบิน ๔” จนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากองบิน ๔ สืบต่อมา
พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๒๘
พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๓๐
พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๕
พ.ศ.๒๕๓๕ - ๒๕๔๖
พ.ศ.๒๕๔๖ - ๒๕๖๔
พ.ศ.๒๕๖๔ - ปัจจุบัน
ผู้บังคับกองบินน้อยที่ ๔
สมัยตั้งแต่ย้ายมาประจำ ณ ตาคลี
น.อ.วงศ์ พุ่มพูนผล
ปี ๒๔๙๕ - ๒๔๙๗
น.อ.กร กนิษฐานนท์
ปี ๒๔๙๗ - ๒๔๙๘
น.อ.จรรย์ จุลชาต
ปี ๒๔๙๘ - ๒๕๐๑
น.อ.บัญชา เมฆวิชัย
ปี ๒๕๐๑ - ๒๕๐๓
น.อ.บัญชา สุขานุศาสน์
ปี ๒๕๐๓ - ๒๕๐๗
สงครามเวียดนาม
พ.ศ.๒๕๐๒ ได้เกิดสงครามเวียดนามขึ้น ประเทศไทยได้ให้การช่วยเหลือกองทัพสหรัฐอเมริกา และเวียดนามใต้ โดยจัดกองกำลังทหารเข้าร่วมสงครามและอำนวยความสะดวกให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้สนามบินตาคลีเป็นฐานที่ตั้งวางกำลัง ซึ่งฐานบินตาคลีเป็นสนามบินที่มีบทบาทอย่างมากในสงครามเวียดนาม
พ.ศ.๒๕๐๗ - ๒๕๑๖ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเข้ามาวางกำลัง โดยบรรจุฝูงบินรบที่ ๓๕๕ ที่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F-100, F-105 และ F-4 เข้าประจำการ
พ.ศ.๒๕๑๗ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้กลับมาอีกครั้ง โดยบรรจุฝูงบิน ๓๖๖ มีเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F-4 และ F-111 ประจำการ
พ.ศ.๒๕๑๘ สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาจึงได้ถอนกำลังออกจากประเทศไทยทั้งหมด
กองบัญชาการของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ณ ฐานบินตาคลี
กองทัพอากาศสหรัฐฯ ถอนกำลังออกจากประเทศไทย
การวางกำลังของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ณ สนามบินตาคลี ในสงครามเวียดนาม
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F-100 เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F-105
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F-4 เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F-111
วันที่ ๑๘ - ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๗ ฐานบินตาคลีเป็นหน่วยรองรับการซ้อมรบร่วม “แอร์บุญชู” โดยได้จัดเป็นฝ่ายตั้งรับร่วมกับชาติภาคี ซึ่งใน วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ตรวจเยี่ยมหน่วยทหารที่ทำการซ้อมรบที่ฐานบินตาคลี
พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๒๖ หลังเหตุการณ์วันเสียงปืนแตก วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๘ กองทัพอากาศ ได้ปฏิบัติการตามแผนยุทธการ ทอ.ที่ ๑/๐๘ จัดกำลังทางอากาศสนับสนุนกำลังภาคพื้น โดย กองบิน ๔ จัดกำลังของฝูงบิน ๔๓ ปฏิบัติการ ณ ฐานบินตาคลี ด้วย F-86 SABRE (บ.ข.๑๗) ในการใช้กำลังทางอากาศสนับสนุนการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์เสด็จเยี่ยม กองบิน ๔ ประทานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว และพระฉายาลักษณ์ทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ข้างวิหารเทพนิมิตข้างละต้นและประทาน เหรียญเสมามหาราชแก่ผู้รับเสด็จฯ ทุกคน
A-37B DRAGONFLY (บ.จ.๖)
พ.ศ.๒๕๒๒ มีคำสั่งให้ฝูงบิน ๔๐๔ ย้ายไปประจำการที่ ฝูงบิน ๔๐๒ กองบิน ๔ บรรจุเครื่องบิน ARAVA Model 201 (บ.ตล.๗) เข้าประจำการจำนวน ๓ เครื่อง
ARAVA Model 201 (บ.ตล.๗)
พ.ศ.๒๕๒๕ ฝูงบิน A-37B (บ.จ.๖) ได้ย้ายจาก กองบิน ๔ ไปประจำการที่ กองบิน ๒๑ ฝูงบิน ๒๑๑ อุบลราชธานี ภายใต้คำขวัญ "ON TIME ON TARGET"
กองทัพอากาศเริ่มมีแนวคิดที่จะใช้เครื่องบินขนาดเล็กสามารถควบคุมได้ในระยะไกลโดยไม่ต้องใช้นักบินไปด้วยเนื่องจากในสมัยนั้นระบบอาวุธป้องกันภัยทางอากาศของฝ่ายข้าศึกถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงโดยเพิ่มความแม่นยำและอำนาจในการทำลายอันส่งผลต่อความเสี่ยงของนักบินที่เพิ่มขึ้น
กองทัพอากาศได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงจัดซื้อเครื่อง RPV หรือชื่อเต็มว่า Remotely Piloted Vehicle จากบริษัท Developmental Sciences Incorporated สหรัฐอเมริกา มาประจำการที่ ฝูงบิน ๔๐๔ กองบิน ๔ จำนวน ๕ เครื่อง ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕
จากนั้นเป็นต้นมา เครื่อง RPV ก็สามารถปฏิบัติภารกิจได้ผลดีมาโดยตลอดเป็นระยะเวลารวม ๘ ปี แต่เนื่องด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เสื่อมลงตามสภาพของการใช้งาน อีกทั้งชิ้นส่วนสำคัญในการบินหลายอย่างไม่สามารถทำการผลิตได้เองภายในประเทศสุดท้ายเครื่อง RPV จึงถูกปลดประจำการไปในที่สุด
Patch ฝูงบิน ๔๐๔ สมัยที่เป็นเครื่อง RPV
พ.ศ.๒๕๒๕ กองบิน ๔ บรรจุเครื่องบิน NOMAD (บ.จล.๙) เข้าประจำการที่ฝูงบิน ๔๐๒ จำนวน ๑ ฝูงบิน
NOMAD (บ.จล.๙) เครื่องบิน Nomad ขณะทำการซ่อมบำรุงที่ฝ่ายการช่างของ ฝูงบิน ๔๐๒
วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ กองบิน ๔ ได้ย้ายฝูงบิน ๔๐๒ พร้อมทั้งข้าราชการและครอบครัวไปที่ ฝูงบิน ๔๖๑ กองบิน ๔๖ พิษณุโลก พร้อมเครื่องบิน AC-47 SPOOKY (บ.จล.๒) และ NOMAD (บ.จล.๙) โดยเริ่มทยอยขนย้ายครั้งละ ๑๐ - ๑๕ ครอบครัว ด้วยรสบัสของกองบิน ๔
วันที่ ๒๐ - ๒๔ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๓๕ กองบิน ๔ ได้นำเครื่องบิน FANTRAINER (บ.ฝ.๑๘/ก) จากโรงเรียนการบิน กำแพงแสน มาวางกำลังที่ กองบิน ๔ เพื่อบรรจุเข้าประจำการที่ ฝูงบิน ๔๐๒
FANTRAINER (บ.ฝ.๑๘/ก)
วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ กองบิน ๔ เปิดอัตรา ฝูงบิน ๔๐๑ เพื่อเตรียมรับ เครื่องบิน L-39 ZA/ART ALBATROS (บ.ขฝ.๑) เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ร่วมกับฝูงบิน ๑๐๑ และ ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ นครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๓๗ กองทัพอากาศ ได้เริ่มทยอยรับมอบและบรรจุประจำการเครื่องบิน L-39 ZA/ART (บ.ขฝ.๑) จำนวน ๓๖ เครื่อง (ภายหลังจัดซื้อเพิ่มเติมอีก ๔ เครื่อง) โดยรับมอบชุดสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๗ เครื่องบินทั้งหมดแบ่งเข้าบรรจุประจำการในฝูงบิน ๑๐๑, ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ และ ฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน ๔ โดยปฏิบัติภารกิจ โจมตีทางอากาศ, ค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ
L-39 ZA/ART ALBATROS (บ.ขฝ.๑)
ต่อมาได้ปรับวางกำลัง ฝูงบิน ๔๐๑ ไปประจำการ ณ กองบิน ๔๑ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และให้ ฝูงบิน ๑๐๑ เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน ๔๐๑ ทดแทน พร้อมทั้งให้ ฝูงบิน ๔๐๑ ปฏิบัติภารกิจ การฝึกนักบินขับไล่โจมตีขั้นต้น ตั้งแต่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมา
MARCHETTI (บ.ฝ.๑๕)
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ กองบิน ๔ ทำพิธีโอนเครื่องบิน F-5E/F (บ.ข.๑๘ ข/ค) จากฝูงบิน ๔๐๓ ไปวางกำลังและประจำการที่ ฝูงบิน ๒๑๑
วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ กองบิน ๔ บรรจุเครื่องบิน F-16 A/B (บ.ข.๑๙/ก) เข้าประจำการฝูงบิน ๔๐๓
วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒ กองบิน ๔ รับมอบเครื่องบิน MERLIN-IV A (บ.ตล.๖), ARAVA Model 201 (บ.ตล.๗) และ LEARJET 35A (บ.ตล.๑๒) จากฝูงบิน ๖๐๕ กองบิน ๖ เข้ามาประจำการที่ฝูงบิน ๔๐๒ พร้อมกับหยุดทำการบินกับเครื่องบิน MARCHETTI (บ.ฝ.๑๕)
MERLIN-IV A (บ.ตล.๖)
LEARJET 35A (บ.ตล.๑๒)
พ.ศ.๒๕๕๑
ความต้องการอากาศยานไร้นักบินควบคุมระยะไกลกลับมาอีกครั้ง เพื่อสนองต่อวิสัยทัศน์ของกองทัพอากาศในการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบเครือข่ายส่วนกลางหรือ Network Centric อันเป็นที่มาของโครงการวิจัยอากาศยานไร้นักบินต้นแบบ โดยมีจุดประสงค์คือสร้างอากาศยานไร้นักบินต้นแบบของ ทอ.เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านข่าวกรองการลาดตระเวนทางอากาศ การเฝ้าตรวจค้นและติดตามเป้าหมาย
การดำเนินโครงการฯ แบ่งการดำเนินงานโดย กองทัพอากาศได้จัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการวิจัยและสร้างอากาศยานไร้นักบินต้นแบบของกองทัพอากาศ ระยะดำเนินการ ๓ ปีคือ พ.ศ. ๒๕๕๑ - พ.ศ.๒๕๕๓ โดยกำหนดขอบเขตความต้องการสมรรถนะ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ขนาดต่าง ๆ เป็น ๓ ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ ๑ ได้ว่าจ้าง บริษัท พัฒนาคอนซัลติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ตัวแทนบริษัท Sapura Secured Technology ประเทศมาเลเซีย สร้างอากาศยานไร้นักบินต้นแบบขนาดเล็ก Wing span ๓ เมตร จำนวน ๑ เครื่อง ชื่อว่า Cyber Eye Lite และอากาศยานไร้นักบินต้นแบบขนาดกลาง Wing span ๔ เมตร จำนวน ๒ เครื่อง ชื่อว่า Cyber Eye 2 V2 โดย บริษัท ได้ส่งมอบงานทั้งหมดให้เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
Aerostar BP (บร.ต.๑) RTAF U1 (บร.ตฝ.๑)
วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ กองบิน ๔ บรรจุเครื่องบิน DA42 MPP (บ.ตฝ.๒๐) เข้าประจำการ ฝูงบิน ๔๐๒ ต่อมากองทัพอากาศได้มีการจัดซื้อเครื่องบิน DA42 M-NG (บ.ตฝ.๒๐ ก) บรรจุเข้าประจำการ ฝูงบิน ๔๐๒ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓
ปี ๒๕๕๕ กองทัพอากาศได้จัดโครงการเครื่องบินขับไล่ F-16 Mid-Life Update : MLU เป็นการเพิ่มขีดความสามารถและเพิ่มอายุการใช้งานของอากาศยาน สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทัดเทียมกับเครื่องบินสมรรถนะสูงสมัยใหม่ โดยทำการปรับปรุงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔ ถึง ปี พ.ศ.๒๕๖๐ ซึ่งเครื่องบิน F-16 AM/BM ที่ผ่านการปรับปรุงนั้น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจเป็นอย่างมาก โดยในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ น.อ.กฤษฎา สุพิชญ์ ผู้บังคับการกองบิน ๔ เข้าร่วมพิธีส่งมอบเครื่องบิน F-16 MLU เครื่องแรก เข้าประจำการที่ ฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔
(บ.ข.๑๙/ก) F-16 AM/BM
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ กองบิน ๔ บรรจุเครื่องบิน P-180 AVANTI II EVO (บ.ตล.๒๐) เข้าประจำการ ฝูงบิน ๔๐๒ ต่อมาในวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ย้ายไปประจำการอยู่ที่ ฝูงบิน ๖๐๔ กองบิน ๖ ดอนเมือง
T-50TH (บ.ขฝ.๒)